วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในอดีตสู่อนาคต

เจเนอเรชันที่ศูนย์ (0G) เป็นยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ก่อนระบบเซลลูลาร์ ซึ่งก็คือโทรศัพท์ที่ใช้ คลื่นวิทยุในการสื่อสารยุคแรก
เจเนอเรชันที่หนึ่ง (1G) ยุคเริ่มต้นของระบบสื่อสารของโทรศัพท์ถูกเรียกว่า 1G หรือในชื่อเต็ม ๆ คือ First Generation ซึ่งใช้การส่งสัญญาณแบบอะนาล็อก ที่มีพื้นฐานมาจาก AMPS (Advanced Mobile Phone Service) โดยใช้คลื่นความถี่ระหว่าง 800 ถึง 900MHz เริ่มใช้งานประมาณปี 2525 สำหรับในประเทศไทยนั้นระบบโทรศัพท์แบบ 800 และ 900 MHz ยังไม่เป็นแพร่หลายเท่าใดนัก เพราะเทคโนโลยีเพิ่งจะเข้ามา ทำให้ค่าบริการรวมทั้งตัวเครื่องโทรศัพท์มีราคาที่แพงมาก รวมทั้งคุณภาพของเสียงยังไม่ค่อยดี ความเร็วของการส่งต่ำ ยังไม่มีระบบความปลอดภัย ทำให้มีการลักลอบใช้กันได้ง่าย หลังจากนั้นจึงได้มีการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่ใช้กับ 1G ให้มีสมรรถนะสูงขึ้น โดยมีการเพิ่มเทคโนโลยี FDMA (frequency division multiple access) เข้าไป ซึ่งก็จะทำให้สามารถเปลี่ยนการส่งสัญญาณแบบอะนาล็อกเดิมไปเป็นดิจิตอลได้ และยังได้แบ่งคลื่นความถี่ออกเป็น 30 ช่องทาง เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เสียงออกไปได้
เจเนอเรชันที่สอง (2G) มีการพัฒนานำระบบดิจิตอลเข้าสู่โลกการสื่อสารไร้สาย นั่นคือมีการส่งสัญญาณในระบบดิจิตอล ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพของสัญญาณ รวมทั้งยังทำให้สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้ได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีความต้องการสื่อสารข้อมูลที่ไม่ใช่เสียงเกิดขึ้นด้วย โทรศัพท์มือถือในยุคนี้สามารถใช้บริการ SMS ได้เจเนอเรชันที่ 2.5 และ 2.75 (2G และ 2.75G) พื้นฐานของโทรศัพท์มือถือยุค นี้ยังคงเหมือนกับยุคที่สอง โดยเพิ่ความสามารถในการสื่อสารข้อมูลอื่นๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทางบริการ WAP (Wireless Application Protocol) และ GPRS (General Packet Radio Service) ลักษณะของโทรศัพท์มือถือยุคนี้ที่เห็นได้อีกก็คือ จอสี และกล้องถ่ายรูป GPRS (2.5G) : (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่ไม่มีการจองช่องทางส่งผ่านข้อมูลที่ไม่ได้ใช้งานทิ้งเอาไว้แบบนั้น เช่นหากไม่มีการสื่อสารในช่องทางนั้น ๆ ระบบก็จะไม่จองทิ้งไว้หรือยกเลิกทันที ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อเข้ากับระบบได้ตลอดเวลา เป็นการจัดสรรช่องทางสื่อสารอย่างชาญฉลาด แต่ความเร็วที่ได้นั้นค่อนข้างต่ำคือ ประมาณ 170 Kbps (ใช้งานจริงจะอยู่ที่ประมาณ 30-70 kbps) ซึ่งเท่ากับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือที่ใช้เทคโนโลยี 2.5Gนั้นจะมีความเร็วพอ ๆ กับการหมุนโมเด็มแบบ Dial-up EDGE (2.75G) : (Enhanced Data Rates for Global Evolution) เทคโนโลยีของ EDGE ถูกพัฒนาขึ้นมาจากระบบพื้นฐานของ GPRS มีความเร็วในการสื่อสารถึง 384 kbps ซึ่งเหนือกว่ายุคของ 2.5G มาก การทำงานของ EDGE นั้นจะคล้าย ๆ กับระบบ GPRS ที่จะแบ่งข้อมูลในรูปของแพ็กเกจเฉพาะตัวที่สามารถทำความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้มากกว่า
เจเนอเรชันที่ 3 (3G) 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น อุปกรณ์การสื่อสารยุคนี้ จะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูปและอินเทอร์เน็ตลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายกำลังเข้าสู่เจเนอเรชั่นที่ 3 (3G) และกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปสู่เจเนอเรชั่นที่ 4 (4G)
เจเนอเรชั้นที่ 4 (4G) 4G เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่มีความเร็วสูงกว่า 3G มาก ซึ่งมีอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลในระดับ20-40 Mbps และสามารถทำความเร็วสูงสุดถึง 100Mbps เพื่อรองรับบริการหลากหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายความเร็วสูง ที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมากๆ รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง WLAN (Wireless LAN) หรือ Wi-Fi เทคโนโลยี WLAN อยู่ภายใต้มาตรฐานที่ชื่อว่า IEEE 802.11 ได้กำหนดให้อุปกรณ์มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1, 2, 5.5, 11 และ 54 Mbps โดยมีสื่อ 3 ประเภทให้เลือกใช้ได้แก่ คลื่นวิทยุที่ความถี่สาธารณะ 2.4 และ 5 GHz, และ อินฟราเรด (Infarred) โดย Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) เป็นสถาบันที่กำหนดมาตราฐาน การทำงาน ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้กำหนดมาตราฐานสำหรับเครือข่ายไร้สายขึ้น คือมาตราฐาน IEEE802.11a, b, และ g ตามลำดับขึ้น ซึ่งแต่ละมาตราฐานมีความเร็วและคลื่นความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน ในการสื่อสารข้อมูล มีรายละเอียด ดังนี้
- มาตราฐาน IEEE802.11a เป็นมาตราฐานระบบเครือข่ายไร้สายที่มีประสิทธิภาพสูง ทำงานที่ย่านความถี่ 5 GHz มีความเร็วใน การรับส่ง ข้อมูลที่ 54 Mbps ที่ความเร็ว นี้สามารถทำการแพร่ภาพและข่าวสารที่ต้องการความละเอียดสูงได้ อัตราความเร็วในการ รับส่งข้อมูลสามารถปรับระดับให้ช้าลงได้ เพื่อเพิ่มระยะทาง การเชื่อมต่อให้มากขึ้น เช่น 54, 48, 36, 24 และ 11 เมกกะบิต เป็นต้น ในขณะที่คลื่นความถี่ 5 GHz นี้ยังไม่ได้ใช้งานอย่างแพร่หลาย ดังนั้นปัญหา การรบกวนคลื่นความถี่ จึงมีน้อย ต่างจากคลื่นความถี่ 2.4 GHz ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายทำให้สัญญาณของคลื่นความถี่ 2.4 GHz ถูกรบกวนจากอุปกรณ์ประเภทอื่นที่ใช้คลื่นความถี่เดียวกันได้ ระยะทางการเชื่อมต่อประมาณ 300 ฟิตจากจุดกระจายสัญญาณ Access Point หากเทียบกับมาตราฐาน 802.11b แล้ว ระยะทางจะได้ น้อยกว่า 802.11b ที่คลื่นความถี่ต่ำกว่า และทั้ง 2มาตราฐานนี้ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้
- มาตราฐาน IEEE802.11b เป็นมาตราฐานที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งต่างประเทศและในประเทศไทย เป็นมาตราฐาน WLAN ที่ทำงานที่คลื่นความถี่ 2.4 GHz มีความสามารถใน การรับส่ง ข้อมูลที่ความเร็ว 11 Mbps ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อุปกรณ์เครือข่าย ไร้สาย ภายใต้มาตราฐานนี้ถูกผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญแต่ละผลิดภัณฑ์มีความสามารถทำงานร่วมกันได้ อุปกรณ์ของผู้ผลิตทุกยี่ห้อ ต้องผ่านการตรวจสอบจากสถาบัน Wi-Fi Alliance เพื่อตรวจสอบมาตราฐานของอุปกรณ์และความเข้ากันได้ของแต่ละผู้ผลิต ปัจจุบันนี้นิยมนำอุปกรณ์ WLAN ที่มาตราฐาน 802.11b ไปใช้ในองค์กรธุรกิจ สถาบันการศึกษา สถานที่สาธารณะ และกำลังแพร่เข้าสู่สถานที่ พักอาศัย มากขึ้น มาตราฐานนี้ มีระบบเข้ารหัสข้อมูลแบบ WEP ที่ 128 บิต
- มาตราฐาน IEEE802.11g มาตราฐานนี้เป็นมาตราฐานใหม่ที่ความถี่ 2.4 GHz โดยสามารถรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 36 - 54 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงกว่ามาตราฐาน 802.11b ซึ่ง 802.11g สามารถปรับระดับความเร็วในการสื่อสารลงเหลือ 2 Mbps ได้ (ตามสภาพแวดล้อมของเครือข่ายที่ใช้งาน) มาตราฐานนี้เป็นที่ ยอมรับจากผู้ใช้เป็นจำนวนมากและกำลัง จะเข้ามา แทนที่ 802.11b ในอนาคตอันใกล้ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้มีบางผลิตภัณฑ์ใช้เทคโนโลยีเฉพาะตัวเข้ามาเสริมทำให้ความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 54 Mbps เป็น 108 Mbps แต่ต้อง ทำงานร่วมกันเฉพาะอุปกรณ์ที่ผลิตจากบริษัทเดียวกันเท่านั้น ซึ่งความสามารถนี้เกิด จากชิป (Chip) กระจายสัญญาณของตัวอุปกรณ์ที่ผู้ผลิตบางราย สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณเป็น 2 เท่าของการรับส่งสัญญาณได้ แต่ปัญหาของการกระจายสัญญาณนี้จะมีผลทำให้อุปกรณ์ไร้สายในมาตราฐาน 802.11b มีประสิทธิภาพลดลงด้วยเช่นกัน

รูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายไปสู่เจเนอเรชั่นที่ 4 (4G)
.
WiMAX หรือ Worldwide interoperability for Microwave Access เป็นเทคโนโลยีบนบรอดแบนด์ไร้สายที่คาดว่าจะนำมาใช้แทนการใช้บรอดแบนด์แบบมีสายเชื่อมต่อผ่านทางสาย LAN หรือแบบไร้สาย Wi-Fi ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อไร้สายแบบระยะใกล้ๆเท่านั้น โดยเทคโนโลยี WiMAX นั้นจะสามารถสร้างเครือข่ายแบบไร้สายแบบหนึ่งจุดเชื่อมต่อไปยังอีกหลายจุดได้ อีกทั้งยังสามารถทำงานในระยะรัศมีที่ไกลๆออกไปเป็นกิโลเปรียบเสมือนเป็น Hot Spot ขนาดใหญ่ได้

WiMAX คืออะไร
WiMAX เป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีไร้สายรุ่นใหม่ล่าสุดที่คาดหมายกันว่า จะถูกนำมาใช้งานในอนาคตอันใกล้นี้ โดย WiMAX เป็นชื่อย่อของ Worldwide Interoperability for Microwave Access ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16 ซึ่งมาก็ได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16a ขึ้น โดยได้การอนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ซึ่งมีรัศมีทำการที่ 30 ไมล์ หรือเป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ซึ่งนั่นหมายความว่า WiMAX สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G มากถึง 10 เท่า ยิ่งกว่านั้นก็ยังมีอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเร็วกว่า 3G ถึง 30 โดยมาตรฐาน IEEE 802.16a หรือ WiMAX มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-multipoint) ได้พร้อมๆ กัน โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ Non-Line-of-Sight ได้ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ หรือ อาคารได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ WiMAX สามารถช่วยให้ผู้ที่ใช้งาน สามารถขยายเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้กว้างขวางด้วยรัศมีทำการถึง 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 Mbps มาตรฐาน IEEE 802.16a นี้ใช้งานอยู่บนคลื่นไมโครเวฟที่ความถี่ระหว่าง 2-11 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐานชนิดอื่นๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี
มาตรฐานของเทคโนโลยี WiMAX
- IEEE 802.16 เป็นมาตรฐานที่ให้ระยะทางการเชื่อมโยง 1.6 – 4.8 กิโลเมตร เป็นมาตรฐานเดียวที่สนับสนุน LoS (Line of Sight) โดยมีการใช้งานในช่วงความถี่ที่สูงมากคือ 10-66 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)
- IEEE 802.16a เป็นมาตรฐานที่แก้ไขปรับปรุงจาก IEEE 802.16 เดิม โดยใช้งานที่ความถี่ 2-11 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งคุณสมบัติเด่นที่ได้รับการแก้ไขจากมาตรฐาน 802.16 เดิมคือคุณสมบัติการรองรับการทำงานแบบที่ไม่อยู่ในระดับสายตา ( NLoS - Non-Line-of-Sight) ทั้งยังมีคุณสมบัติการทำงานเมื่อมีสิ่งกีดขวาง อาทิเช่น ต้นไม้, อาคาร ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังช่วยให้สามารถขยายระบบเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงได้อย่างกว้างขวางด้วยรัศมีทำการที่ไกลถึง 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ทำให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อการใช้งานระบบเครือข่ายของบริษัทที่ใช้สายประเภท ที1 (T1-type) กว่า 60 รายและการเชื่อมต่อแบบ DSL ตามบ้านเรือนที่พักอาศัยอีกหลายร้อยครัวเรือนได้พร้อมกันโดยไม่เกิดปัญหาในการใช้
- IEEE 802.16e เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาให้สนับสนุนการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาประเภทต่างๆ เช่น อุปกรณ์พีดีเอ โน้ตบุ๊ก เป็นต้น โดยให้รัศมีทำงานที่ 1.6 – 4.8 กิโลเมตร มีระบบที่ช่วยช่วยให้ผู้ใช้งานยังสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดีและมีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้ว่ามีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม

จุดเด่นของ WiMAX
- เรื่องของความเร็ว สำหรับ WiMAX นั้น ได้ให้อัตราความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลมากถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) โดยใช้กลไกการเปลี่ยนคลื่น สัญญาณที่ให้ ประสิทธิภาพสูง สามารถส่งสัญญาณออกไปได้ในระยะทางไกลมากถึง 30 ไมล์ หรือ 48 กิโลเมตร ภายใต้คลื่นความถี่ระดับสูงที่มีประสิทธิภาพใน การ ทำงานสูง ทั้งก็ยังไม่มีปัญหาเรื่องของสัญญาณสะท้อนอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว สถานีฐาน (Base Station) ยังสามารถพิจารณาความเหมาะสมในระหว่าง ความเร็ว และระยะทางได้อีก ตัวอย่างเช่น ถ้าหากการใช้เทคนิคในแบบ 64 QAM (Quadarature Amplitude Modulation) ไม่สามารถรองรับการ สื่อสารที่มีประสิทธิภาพได้ การเปลี่ยนไปใช้ 16 QAM หรือ QPSK (Quadarature Phase Shift Key) ซึ่งจะช่วยเพิ่มระยะทางการในการสื่อสาร ให้มากขึ้นไ ด้
- การบริการที่ครอบคลุม นอกจาก WiMAX จะใช้เทคนิคของการแปลงสัญญาณที่ให้ความคล่องตัวในการใช้งานสูง และเปี่ยมประสิทธิภาพแล้ว มาตรฐาน IEEE 802.16a ก็ยังสามารถรองรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีซึ่งขยายพื้นที่การให้บริการให้กว้างขวางมากขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่าย ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ ผสมผสาน (Mesh Topology) และเทคนิคการใช้งานกับเสาอากาศแบบอัจฉริยะ (Smart Antenna) ที่ช่วยประหยัดต้นทุนและเพิ่มอัตราความเร็วของ การรับส่งสัญญาณที่ให้สมรรถนะในการทำงานน่าเชื่อถือสูง
- ความสามารถในการขยายระบบ WiMAX นั้นมีความสามารถในเรื่องการรองรับการใช้งานแบนด์วิดท์, ช่องสัญญาณ สำหรับการสื่อสารได้ด้วยความยืดหยุ่น โดยสามารถปรับให้สอด คล้องกับแผน--การติดตั้งเซลล์ในย่านความถี่ที่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ หรือ ย่านความถี่ที่ได้รับการยกเว้นค่าลิขสิทธิ์ทั่วโลก อาทิเช่น ถ้าโอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการนั้น ได้รับคลื่นความถี่ 20 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ก็สามารถที่จะทำการแบ่งคลื่นความถี่นี้ออกเป็น 2 ส่วน โดยแต่ละส่วนนั้นอยู่ที่ 10 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) หรือจะแบ่ง ออกเป็น 4 ส่วนๆ ละ 5 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ก็ได้ ทำให้โอเปอเรเตอร์สามารถบริหารจัดการแต่ละส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งยังเพิ่มเติมผู้ใช้งานในแต่ละส่วนได้
- การจัดลำดับความสำคัญของงานบริการ (QoS - Quality of Service) สำหรับระบบเครือข่ายไร้สายมาตรฐาน WiMAX นี้ มีคุณสมบัติด้าน QoS (Quality of Service) ที่รองรับการทำงานของ บริการสัญญาณเสียงและ สัญญาณวิดีโอ ซึ่งต้องการระบบเครือข่ายที่ไม่สามารถทำงานด้วยความล่าช้าได้ บริการเสียงของ WiMAX นี้ อาจจะอยู่ในรูปของบริการ Time Division Multiplexed (TDM) หรือบริการในรูปแบบ Voice over IP (VoIP) ก็ได้ โดยโอเปอเรเตอร์สามารถกำหนดระดับความสำคัญของการใช้งานให้เหมาะ สมกับรูปแบบการใช้งานต่างๆ อาทิ สำหรับบริการให้องค์กรธุรกิจ, ผู้ใช้งานตามบ้านเรือน เป็นต้น
- ระบบรักษาความปลอดภัย นับเป็นคุณสมบัติ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยคุณสมบัติของการรักษาความลับของข้อมูลและการเข้ารหัสข้อมูล ซึ่ง อยู่ในมาตรฐาน WiMAX ที่จะช่วยให้การสื่อสารมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แถมยังมีระบบตรวจสอบสิทธิการใช้งานและมีระบบการเข้ารหัสข้อมูลในตัวด้วย

จุดด้อยของ WiMAX
เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย WiMAX เป็นสิ่งที่พึ่งคิดค้นและพัฒนาขึ้นมา และยังมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของมาตรฐานรวมไปถึงผู้ผลิตที่นำเอามาตรฐาน WiMAX ไปพัฒนาต่อเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้งานจริงมีจำนวนน้อย อุปกรณ์ยังไม่หลากหลาย จึงต้องอาศัยเวลาในการพัฒนาเพื่อให้มีการใช้งานได้อย่างครอบคลุม รวมไปถึงราคาอุปกรณ์ WiMAX ที่ค่อนค้างสูง ความถี่ของการให้บริการ ตามมาตรฐานของ WiMAX จะใช้ความถี่ช่วง 2-6GHz (802.16e) และ 11GHz (802.16d) ซึ่งในบางประเทศจะเป็นช่วงความถี่ที่มีการควบคุม ต้องมีการขออนุญาตก่อนให้บริการ และในบางประเทศ ไม่มีข้อกำหนดตรงนี้ ดังนั้นผู้ที่จะลงทุนวางระบบ WiMAX ต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดเสียก่อน ทำให้ในปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยี WiMAX ไปได้ไม่ไกลเท่าที่ควร

จะเห็นได้ว่า WiMAX มีจุดเด่นคือมีความเร็วสูง สามารถส่งสัญญาณออกไปได้ระยะไกล เชื่อมต่อได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้สายรับ-ส่งสัญญาณ เพียงติดตั้งสถานีฐาน WiMAX ก็จะสามารถกระจายสัญญาณได้ถึง 48 กิโลเมตร ด้วยจุดเด่นทางด้านระยะทางในการส่งข้อมูล ทำให้การนำเทคโนโลยี WiMAX เข้ามาใช้นั้น จะเป็นการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการ Internet ให้มากขึ้น คลอบคลุมไปถึงผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล หรือในชนบทที่ไม่สามารถใช้งาน Internet ได้และบริการต่างๆผ่านระบบ Internet ก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เช่นบริการด้านความบันเทิงต่างๆ การดูหนัง ฟังเพลงผ่าน Internet ก็จะง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แถม WiMAX ยังมีระบบการเข้ารหัสข้อมูลที่ปลอดภัยสูงอีกด้วย

เปรียบเทียบเทคโนโลยีไร้สายในแบบต่างๆ

Wi-Fi vs WiMAX

ความสามารถของ Wi-Fi และ WiMAX
การเชื่อมต่อของทั้ง Wi-Fi และ WiMAX ต่างก็ขึ้นอยุ่กับระยะทางของตัวส่งสัญญาณและตัวรับสัญญาณ เราจะเห็นการใช้ Wi-Fi ในปัจจุบันจะเป็นมาตรฐาน 802.11g ซะส่วนใหญ่ ความเร็วในการส่งข้อมูลจะอยู่ประมาณ 54Mbps และระยะทางของสัญญาณภายในที่ร่มจะอยู่ประมาณ 30 เมตร ความเร็วในการส่งข้อมูลจะเปลี่ยนแปลงไปพื้นที่ ระยะทางและสิ่งกีดขวาง
WiMAX จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลอยู่ที่ 70Mbps และระยะทางในการส่งข้อมูลจะอยุ่ที่ 112 กิโลเมตรในทางทฤษฎี แต่ระยะทางจริงจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม โดยค่าที่คาดไว้ความเร็วในการส่งข้อมูลจะอยู่ที่ 10Mbps และระยะทางในการส่งข้อมูลจะอยู่ที่ 2 กิโลเมตร

ความแตกต่างระหว่าง Wi-Fi กับ WiMAX
ทั้ง Wi-Fi และ WiMAX เป็นระบบเครือข่ายไร้สายและใช้สัญญาณวิทยุในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เพื่อส่งข้อมูล ข้อจำกัดของ Wi-Fi คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะเชื่อมต่อต้องอยู่ในรัศมี 100 ฟุต แต่ในขณะนี้มีเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า WiMAX ซึ่งมีความสามารถในการส่งข้อมูลคลอบคลุมถึง 30 ไมล์ จากสถานีฐาน ซึ่งจุดนี้เป็นจุดที่ทำให้เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายทั้ง 2 ระบบนี้แตกต่างกัน
Wi-Fi จะใช้ OFDM (Orthogonal Frequency-Division Multiplexing) หรือ CCK (Complementary Code Keying) ในการส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับมาตรฐานที่ใช้ ซึ่ง Wi-Fi มีมาตรฐานที่ต่างกันออกไปตามตัวอักษรแต่ไมได้เรียงตามตัวอักษรอยู่ 3 อย่าง ตัวแรกคือ 802.11b แล้วมาที่ 802.11a และสุดท้าย 802.11g ซึ่งในแต่ละมาตรฐานนั้นจะมีการใช้ช่องสัญญาณและคลื่นความถี่ที่แตกต่างกันไป ยิ่งความถี่สูงความเร็วในการส่งก็จะสูงตาม
WiMAX เป็นอนาคตของ Wi-Fi ทั้ง 2 เทคโนโลยีนี้มีการทำงานคล้ายคลึงกัน เว้นแต่ WiMAX จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่มากกว่า ระยะทางไกลกว่าและรองรับจำนวนผู้ใช้งานได้มากกว่า โดยจำแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆคือสถานีฐานซึ่งเป็นตัวปล่อยสัญญาณและตัวรับสัญญาณ โดยเสาสัญญาณของ WiMAX จะมีลักษณะพิเศษคือ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ หรือ อาคารได้เป็นอย่างดี และทนต่อสภาพอากาศโดยที่ความเร็วในการส่งข้อมูลจะยังคงมีประสิทธิภาพคงเดิม
เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ทั้ง Wi-Fi และ WiMAX ต่างก็เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงที่ส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึงไปยังอีกเครืองหนึ่ง เทคโนโลยี WiMAX สร้างความแตกต่างและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Wi-Fi ได้เป็นอย่างดี นั่นก็คือเรื่องระยะทาง

บทสรุป
ถึงแม้ในปัจจุบันเทคโนโลยี WiMAX จะยังไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่ในอนาคตข้างหน้า WiMAX จะเข้ามาเป็นทางเลือกหนึ่งในที่จะตอบสนองความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สาย ที่มีความต้องการใช้มากขึ้น และจะเข้ามาแทนที่เทคโนโลยีไร้สายอื่นๆในไม่ช้า เพื่อให้ทุกคนในทุกๆสถานที่มีโอกาสใช้งานเครือข่ายความเร็วสูงได้อย่างเท่าเทียมกัน

เอกสารอ้างอิง
http://ccsmail.sut.ac.th/e-ru/teacher/file/file154.ppt
http://mail.baskent.edu.tr/~20394676/0401/bil431/hw/burak-usgurlu-lastHW-wifiVSwimax.pdf
http://www.eng.usf.edu/~iguvenc/EEL4512/Ex_Prj_Rep/Kathryn_Update.doc
http://161.200.90.163/Technology/WiMAX3.ppt
http://bk.udru.ac.th/paper/3g.pdf
http://attapon.ptkclub.com/source/WiMAX.pdf

.........................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น