เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะการเข้าถึงข้อมูล ดังนี้
1. WPAN (Wireless Personal Area Network)
เป็นระบบเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล การทำงานจะครอบคลุมบริเวณการสื่อสารที่ค่อนข้างจำกัด โดยมีระยะทางไม่เกิน 10 เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร่หลาย เช่น
• Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a
• Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1
• Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4
เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripherals) ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอที่มีความละเอียดภาพสูง (High-Definition Video Signal) ได้2. WLAN (Wireless Local Area Network)
เป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่นที่ใช้งานในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในระยะใกล้ ภายในหน่วยงานหรืออาคารเดียวกัน เช่น สำนักงาน บริษัท หรือสถานที่จัดนิทรรศการ โดยที่มีระยะทางไม่เกิน 100 เมตรและมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วที่สูงถึงระดับ 100 Mbps และติดตั้งสถานีฐานที่เรียกว่า Access Point เพื่อทำหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ปลายทาง (Terminal Equipment) ในลักษณะที่เป็นเซลล์ขนาดเล็กมาก (Pico Cells) ที่ไม่แตกต่างจากเซลล์ของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่มากนัก ซึ่งเทคโนโลยีใช้กันแพร่หลาย คือ
• WiFi ตามมาตรฐาน IEEE 802.11
• ETSI HIPERLAN ตามมาตรฐานของกลุ่มประเทศยุโรป
ข้อจำกัดสำหรับการใช้งานเทคโนโลยีนี้ คือ จำนวนของผู้ใช้งานในขณะใดขณะหนึ่งพร้อมกัน ระยะห่างระหว่าง Access point กับ Terminal Equipment และความพอเพียงของคลื่นความถี่ เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นการใช้งานในลักษณะได้รับยกเว้นใบอนุญาต (Unlicensed) จึงต้องใช้คลื่นความถี่ร่วมกันกับผู้ประกอบการรายอื่น
3. WMAN (Wireless Metropolitan Area Network)
เป็นระบบเครือข่ายสำหรับเมืองใหญ่ๆ มีระบบเครือข่ายที่หลากหลายมักใช้เชื่อมต่อสื่อสารกันระหว่างอาคารต่างๆภายในเมือง ซึ่งมีระยะทางตั้งแต่ 10 ถึง 50 กม. ขึ้นอยู่กับคลื่นความถี่ที่ใช้งาน และมีอัตราการรับส่งข้อมูลที่ความเร็วสูงในระดับ 15 – 50 Mbps ขึ้นอยู่กับการใช้งานว่าเป็น non-line-of-sight (NLOS) หรือ line-of-sight (LOS) โดยเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบัน คือ
• WiMAX ตามมาตรฐาน IEEE 802.16
• WiBro ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน IEEE 802.16
• ETSI HIPERMAN ซึ่งเป็นมาตรฐานของกลุ่มประเทศยุโรป ซึ่งพัฒนาให้ทำงานร่วมกันได้กับมาตรฐาน IEEE 802.16
เป็นระบบเครือขายไร้สายขนาดใหญ่สำหรับเมืองหรือประเทศซึ่งมักมีการใช้งานผ่านดาวเทียมข้ามประเทศ มีอัตราการรับส่งข้อมูลที่มีความเร็วได้ไม่เกิน 1.5 Mbps เนื่องจากมุ่งเน้นที่การใช้งานแบบเคลื่อนที่ ทั้งนี้ เทคโนโลยีการเข้าถึงที่มักระบุว่าเป็นเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายบริเวณกว้าง คือ
• เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (3G)
• MBWA (Mobile Broadband Wireless Access) ตามมาตรฐาน IEEE 802.20 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เทียบเคียงกันได้กับ IEEE 802.16e (Mobile WiMAX) แต่ยังอยู่ระหว่างการจัดทำมาตรฐาน
1.เทคโนโลยี HSDPA (High Speed Downlink Packet Access)
เป็นเทคโนโลยีในการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สายภายใต้มาตรฐาน 3G เทคโนโลยี HSDPA เป็นวิวัฒนาการขั้นถัดมาจากเครือข่าย W-CDMA มีความรวดเร็วกว่า EDGE ภายใต้เครือข่ายแบบ UMTS เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งผ่านข้อมูลที่รวดเร็วและเพิ่มช่วงกว้างของข้อมูลมากขึ้น โดยมีอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล 1.8 Mbps, 3.6 Mbps, 7.2 Mbps และ Down Link ความเร็ว 14.4 Mbps
2.เทคโนโลยี WiMAX (Worldwide inter-Operability for Microwave Access)
เป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16 ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16a ขึ้น มีรัศมีทำการที่ 30 ไมล์ หรือเป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร โดยมาตรฐาน IEEE 802.16a หรือ WiMAX มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-multipoint) ได้พร้อมๆ กัน โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ Non-Line-of-Sight ได้ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ หรือ อาคารได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ WiMAX สามารถช่วยให้ผู้ที่ใช้งาน สามารถขยายเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้กว้างขวางด้วยรัศมีทำการถึง 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 Mbps มาตรฐาน IEEE 802.16a นี้ใช้งานอยู่บนคลื่นไมโครเวฟที่ความถี่ระหว่าง 2-11 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐานชนิดอื่นๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี
3.เทคโนโลยี Flash-OFDM (Flash Orthogonal Frequency Division Multiplexing)
เป็นเทคโนโลยีที่ใช้การรับส่งข้อมูลแบบ OFDM เช่นเดียวกับที่ใช้ในเครือข่าย WiMAX โดย Flash-OFDM จะมีย่านความถี่ใช้งานตั้งแต่ช่วง 450 เมกะเฮิตรซ์ ขึ้นไปจนถึง 2.5 กิกะเฮิตรซ์ แล้วแต่ว่าประเทศใดมีย่านความถี่ช่วงใดว่างสำหรับใช้งาน คุณสมบัติทั่วไปของเทคโนโลยีดังกล่าวรองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็ว 3 เมกะบิตต่อวินาทีจากสถานีฐานไปสู่อุปกรณ์สื่อสารไร้สาย และ 800 กิโลบิตต่อวินาทีในทางกลับกัน ย่านความถี่ที่น่าจะมีการนำไปใช้กับเทคโนโลยี Flash-OFDM มากที่สุดก็คือ 450 เมกะเฮิตรซ์ ซึ่งเป็นความถี่ดั้งเดิมที่ใช้กับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ NMT (Nordic Mobile Telephone) ซึ่งเป็นเครือข่ายโบราณในยุค 1G
ตารางเปรียบเทียบคุณลักษณะและความสามารถทางเทคนิคของมาตรฐาน BWA แต่ละประเภท
การใช้บริการในลักษณะนี้จะเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการที่ทำงานอยู่ประจำที่ เช่น ภายในบ้านหรือสำนักงาน โดยที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ในขณะรับ-ส่งข้อมูล เนื่องจากจะทำให้เกิดการแทรกสอดจากหลายทิศทางของสัญญาณ (Multi-path Fading) และเทคโนโลยีที่รองรับการใช้งานในลักษณะนี้ ไม่มีขีดความสามารถในการแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากสัญญาณรบกวนซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่ของผู้ใช้งาน อีกทั้งยังไม่มีความสามารถที่จะรองรับการย้ายพื้นที่ใช้งาน (Roaming) จากสถานีฐานหนึ่งไปอีกสถานีฐานหนึ่งได้ อย่างไรก็ตามหากจำกัดให้ผู้ใช้บริการอยู่ประจำที่ ก็จะทำให้เทคโนโลยีที่รองรับการใช้งานแบบนี้ทำการรับส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วสูงสุด เทคโนโลยีในกลุ่มนี้ได้แก่ MMDS, LMDS และการสื่อสารไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.16, 16a, 16d
2.การใช้งานแบบเคลื่อนที่เล็กน้อย (Nomadic and Portable)
การใช้บริการในลักษณะนี้จะเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการแบบใช้งานอยู่เป็นที่แต่อาจมีการเคลื่อนที่เล็กน้อย เช่น การใช้อุปกรณ์ประมวลผลแบบ PDA หรือเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่ติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารไร้สายไว้ ซึ่งอาจมีการเดินไปมา หรือย้ายตำแหน่งที่ใช้งานบ้าง แต่ไม่ถึงกับมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง โดยเทคโนโลยีในกลุ่มนี้ต้องชดเชยความสามารถในการรองรับการใช้งานขณะเคลื่อนที่กับพื้นที่ให้บริการที่แคบลง และอัตราเร็วในการสื่อสารที่อาจจะต่ำกว่าการใช้งานแบบประจำที่ เทคโนโลยีในกลุ่มนี้ได้แก่ การสื่อสารไร้สายมาตรฐานIEEE802.16e และมาตรฐาน IEEE 802.16a, b, g , n ข้อดีของการใช้งานแบบ Nomadic and Portable ก็คือ ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนสถานีฐานหรือจุดเชื่อมต่อไปใช้งาน ณ สถานที่อื่นได้โดยเครือข่ายจะตรวจสอบโพรโฟล์ (Profile) การใช้งานของผู้ใช้บริการ จากฐานข้อมูลส่วนกลาง เพื่ออนุญาตให้ใช้งานในต่างพื้นที่ (Roaming) ได้
3.การใช้งานขณะเคลื่อนที่ตลอดเวลา (Mobility)
การใช้งานในลักษณะนี้จะเป็นกลุ่มผู้ใช้งานที่มีการเคลื่อนที่ย้ายตำแหน่งอยู่ตลอดเวลา หรืออาจจะมีการใช้งานจะมีการใช้งานในยานพาหนะที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เช่น ภายในรถยนต์หรือรถไฟ โดยเทคโนโลยีที่รองรับการใช้งานในรูปแบบนี้มีเพียงเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น ซึ่งในอนาคตจะมีการผลักดันเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.20 เพื่อรองรับการใช้งานในลักษณะนี้
มาตรฐาน IEEE 802.11
มาตรฐานหลักของระบบเครือข่ายไร้สายและอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย คือ มาตรฐาน IEEE 802.11 เป็นมาตรฐานระบบเครือข่ายไร้สายที่ถูกกำหนดขึ้นโดย Institute of Electrical and Electronic Engineers ซึ่งเป็นองค์กรกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสื่อสารของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์
มาตรฐาน IEEE 802.11 นั้นเริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 มาตรฐานที่เกิดขึ้นนี้ยังมีข้อจำกัดในด้านเทคโนโลยี ซึ่งกำหนดระบบการส่งสัญญาณด้วยความเร็ว 2 Mbps และได้มีการพัฒนาเรื่อยมา โดยมีส่วนย่อยอยู่ด้วยกันถึง 9 ส่วน คือ a, b, c, d, e, f, g, h, iโดยแต่ละชนิดนั้นก็จะมีลักษณะหรือมาตรฐานของรายละเอียดต่างกันไป
มาตรฐาน 802.11 นี้ใช้การส่งสัญญาณแบบคลื่นวิทยุที่ความถี่ 2.4 GHz ซึ่งเป็นความถี่ ISM band สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราความเร็ว ค่อนข้างต่ำ คือ 1 และ 2 Mbps เท่านั้น โดยใช้เทคนิคการส่งสัญญาณหลักอยู่ 2 รูปแบบ คือ DSSS และ FHSS ซึ่งถูกคิดค้นมาจากหน่วยงานทหาร การส่งสัญญาณทั้ง 2 รูปแบบจะใช้ความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) ที่มากกว่า การส่งสัญญาณแบบ Narrow Band แต่ทำให้สัญญาณมีความแรงมากกว่าซึ่งง่ายต่อการตรวจจับมากกว่า แบบ Narrow Band
มาตรฐาน IEEE 802.11b
IEEE 802.11b เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้ กันมากที่สุดในปัจจุบันนี้และมีอุปกรณ์ที่รองรับอย่างมากมาย ระบบไร้สายประเภทนี้ใช้การส่งคลื่นสัญญาณวิทยุในย่านความถี่ 2.4GHz โดยใช้เทคนิคการส่งสัญญาณแบบ DSSS ซึ่งเป็นความถี่ ISM band สามารถส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 11Mbps ภายในรัศมี 300 เมตร แบนด์วิทด์ที่ได้รับและระยะทางที่เชื่อมโยงได้ไกลจึงทำให้เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้งานภายในองค์กรโดยทั่วไป ทั้งยังรองรับการใช้งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการทำงานภายในบ้านหรือสำนักงาน จุดเด่นคือการใช้ความถี่คลื่นวิทยุที่ค่อนข้างต่ำ เพียง 2.4 GHz นั้นทำให้ IEEE 802.11b มีระยะทางในการติดต่อระหว่างอุปกรณ์ค่อนข้างไกล ทำให้ชุดเครือข่ายไร้สายแบบ IEEE 802.11b ไม่จำเป็นต้องมีจุดรับ-ส่งสัญญาณ หรือที่เรียกกันว่า Access Point หรือ Hot Spot มาก ขณะที่ข้อเสียของมาตรฐานนี้คือ ใช้ย่านความถี่ในระยะของย่านความถี่ที่โทรศัพท์ใช้และอุปกรณ์ Bluetooth จึงทำให้ส่งผลต่อความปลอดภัย ในการใช้ข้อมูล เนื่องจากข้อมูลจะมีโอเวอร์เฮดที่สูง ถ้าพื้นที่ใช้งานมีสิ่งกีดขวาง และสัญญาณไฟฟ้า รบกวน ก็จะทำให้คุณภาพของสัญญาณลดต่ำลง จึงทำให้ความสามารถในการนำพาข้อมูลจริงๆ นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 5 Mbps
มาตรฐาน IEEE 802.11a
มาตรฐาน IEEE 802.11a นั้นเกิดขึ้นหลังการวางตลาดของมาตรฐาน IEEE 802.11b โดยที่ IEEE 802.11a มีข้อดีกว่า IEEE 802.11b คือ ใช้ย่านความถี่เฉพาะต่างหาก ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่สูง อยู่ในระหว่าง 5.15GHz ถึง 5.825GHz ซึ่งเป็นย่านความถี่วิทยุ ของ U-NII Band โดยมีความกว้างของความถี่ทั้งหมด 300 MHz แบ่งเป็น 3 ระดับ ระดับละ 100 MHz คือ ต่ำ, ปานกลางและสูง ซึ่งแต่ละระดับมีความสามารถในการใช้งานและกำลังส่งแตกต่างกัน
- ย่านความถี่ระดับต่ำ(Low Band) ย่านความถี่ที่ทำงานจาก 5.15 ถึง 5.25 GHz กำลังส่งสูงสุด เท่ากับ 50 mW
- ย่านความถี่ระดับปานกลาง(Middle Band) ย่านความถี่ที่ทำงานจาก 5.25 ถึง 5.35 GHz กำลังส่งสูงสุดเท่ากับ 250 mW
- ย่านความถี่ระดับสูง(High Band) ย่านความถี่ที่ทำงานจาก 5.725 ถึง 5.825 GHz กำลังส่งสูงสุด เท่ากับ 1000 mWความเร็วในการรับส่งข้อมูลในทางทฤษฎีสูงสุด 54Mbps แต่ในการใช้งานจริงแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 22Mbps มาตรฐานนี้จึงเหมาะที่จะนำมา ใช้ในการจัดส่งข้อมูลเสียงและภาพกราฟิก แต่ข้อเสียหลัก ก็คือ มีรัศมีทำการอยู่แค่ 75 ฟุต ดังนั้นถ้าต้องการระยะทางที่ไกล ขึ้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ ติดตั้งอุปกรณ์ Access Point เพิ่มขึ้นมาก นอกจากนั้นแล้วอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐานนี้ในปัจจุบันก็ยังมีราคาแพงเมื่อเทียบกับมาตรฐาน IEEE 802.11b เนื่องจากว่าทั้งสองมาตรฐานนี้ใช้ย่านความถี่ ต่างกัน จึงทำให้อุปกรณ์ของทั้งสองประเภทนั้น ไม่สามารถที่จะใช้งานร่วมกันได้
มาตรฐาน IEEE802.11g
IEEE 802.11g เป็นมาตรฐานที่จะเข้า มาทดแทนมาตรฐาน IEEE 802.11b จุดเด่นของ IEEE 802.11g ก็คือการใช้คลื่นความถี่วิทยุ 2.4 GHz ซึ่งเป็นคลื่นสาธารณะที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานได้โดยไม่ผิดกฎหมาย เหมือนมาตรฐาน IEEE802.11b แต่ใช้เทคโนโลยีแบบ OFDM ในการส่งสัญญาณ ทำให้มีความเร็วสูงสุดมากกว่า 20 Mbps อีกทั้งยังสามารถ ที่จะใช้งานร่วมกันกับอุปกรณ์ที่ใช้มาตรฐาน IEEE 802.11b จึงทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของระบบไร้สายที่ใช้กันอยู่เดิมอย่าง IEEE 802.11b
ตารางแสดงมาตรฐาน IEEE 802.11
มาตรฐาน IEEE 802.16
IEEE 802.16 หรือ เทคโนโลยี WiMAX คือเทคโนโลยีไร้สายความเร็วสูงล่าสุด มีระยะทางการเชื่อมโยง 1.6-4.8
กิโลเมตร และมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุด 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) เป็นมาตรฐานเดียวที่สนับสนุน LoS (Line of Sight) คือต้องไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างเครื่องรับเครื่องส่ง และทำงานบนย่านความถี่ 10-16 GHz
มาตรฐาน IEEE 802.16a
เป็นมาตรฐานที่ปรับปรุงจาก IEEE 802.16 เดิม รันบนความถี่ย่าน 2-11 GHz โดยคุณสมบัติที่ได้รับการปรับปรุงจาก
มาตรฐาน 802.16 เดิม คุณสมบัติเด่นของ IEEE 802.16a คือความสามารถในการส่งสัญญาณจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-Multipoint) ได้พร้อมกัน รองรับการทำงานแบบ Non-Line-of-Sight คือทำงานได้แม้มีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้หรืออาคาร และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ให้บริการบรอดแบนด์ในการขยายพื้นที่ให้บริการ มาตรฐาน IEEE 802.16a จะทำงานบนความถี่ย่าน 2-11 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐานชนิดอื่นๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้ รัศมีทำการ 30 ไมล์ และความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุด 75 Mbps
มาตรฐาน IEEE 802.16e
IEEE 802.16e เป็นมาตรฐานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกับอุปกรณ์โมบายล์ เช่น พีดีเอและโน้ตบุ๊ค รัศมีทำการ 1.6-4.8 กิโลเมตร สนับสนุนการเชื่อมต่อในขณะเคลื่อนที่โดยไม่กระทบกับคุณภาพและความเสถียรของระบบ
http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.phppage=2&mode=quote&comment=12&index=5&table_id=1&cate_id=20&post_id=5361
http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1396
http://www.siamphone.com/article/2005/00020/page2.htm
http://www.telecomjournal.net/index.phpoption=com_content&task=view&id=412&Itemid=37
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น